วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บทที่ 2 ระบบเครือข่ายและการสื่อสารข้อมูล


บทที่ 2 ระบบเครือข่ายและการสื่อสารข้อมูล

           1.1 ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์พื้นฐาน (Network Basic)
ความหมายของระบบเครือข่าย 
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร ์(ComputerNetwork) คือระบบที่มีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป
ผ่านช่องทางการสื่อสารอย่างใดอย่างหนึ่ง และระบบเครือข่ายใดๆ สามารถมีระบบเครือข่ายย่อยมากกว่า
1 เครือข่ายอยู่ภายใน

ความสำคัญของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
1. ทำให้เกิดการทำงานในลักษณะกลุ่มในระหว่างเครื่อง และอุปกรณ์ประกอบคอมพิวเตอร์
2.
 เกิดการใช้ทรัพยากรร่วมกันขึ้น โดยผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่อยู่ในเครือข่าย สามารถใช้ แฟ้มข้อมูล
ชุดคำสั่ง ข่าวสารสารสนเทศต่างๆ ตลอดใช้อุปกรณ์ประกอบคอมพิวเตอร์ที่มีราคาแพงร่วมกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์
ฮาร์ดดิสก์ สแกนเนอร์ ซีดีรอม โมเด็ม ฯลฯ 

3
. ช่วยลดความซ้ำซ้อนและสามารถกำหนดมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยให้กับแฟ้มข้อมูลต่างๆได้สะดวก 
4.
 สามารถขยายอาณาเขตในการสื่อสารข้อมูลได้ครอบคลุมกว้างไกลยิ่งขึ้นจากเครือข่ายขนาดเล็กที่เชื่อมต่อกัน
ด้วยคอมพิวเตอร์เพียงสองสามเครื่องภายในหน่วยงานหรือบริษัทเล็กๆไปจนถึงเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์
นับล้านๆเครื่องทั่วโลกครอบคลุมไปเกือบทุกประเทศที่รู้จักกันดีคือเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นเครือข่ายที่ใหญ่
ที่สุดในโลก

องค์ประกอบระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Network Elements)องค์ประกอบของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มี 7 องค์ประกอบด้วยกันประกอบด้วย 

1. จุดเชื่อมต่อ (Node) อย่างน้อย 2 จุดขึ้นไป ซึ่งอาจจะเป็น Personal Computer , Host Computer,
Workstation และ Printer 



2.การ์ดแลน(Network Interface Card : NIC)เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณและควบคุมการรับส่งข้อมูล
ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องที่เชื่อมต่อกับระบบเครือข่าย รูปการ์ดแลน
10/100และการ์ดแลน10/10 

3. สื่อกลางในการส่งข้อมูล (Media)ได้แก่สายเคเบิล คลื่นวิทยุ คลื่นอินฟราเรด เป็นต้น ซึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับ สื่อกลางในการส่งข้อมูล จะอธิบายอย่างละเอียดในบทต่อไป

4. แพกเกจของข้อมูล (Data Packets) เป็นสัญญาณที่วิ่งระหว่าง Node ภายในระบบ เครือข่าย

5. ที่อยู่ (Address) เปรียบเสมือนบ้านเลขที่ของแต่ละ Node ในระบบเครือข่ายซึ่งจะไม่ ซ้ำกัน

6. ซอฟต์แวร์ในการสื่อสารข้อมูล (CommunicationSoftware)เป็นโปรแกรมที่ติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) เพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย ได้แก่ Netware, Window NT/ Windows 2000 Server, Linux และ Unix เป็นต้น
-Netware เป็นระบบปฏิบัติการที่มีผู้นิยมใช้งานในระบบเครือข่ายมากสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์
ในยุคแรกๆ พัฒนาโดยบริษัท
 Novell จัดเป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่ทำงานภายใต้ MS-DOS
-
 Window NT, Windows 2000 Server เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัท ไมโครซอฟต์ จำกัด สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ เริ่มต้นไมโครซอฟต์ต้องการพัฒนาเป็นแอปปลิเคชั่น เซอร์ฟเวอร์ แต่ปัจจุบันสามารถประยุกต์ได้เป็นดาต้าเบส เซอรฟ์เวอร์ และอินเทอร์เน็ตเซอร์ฟเวอร์
-Unixเป็นระบบปฏิบัติการที่กำเนิดมาบนเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่(Mainframe)ที่รองรับผู้ใช้จำนวนมาก
สำหรับระบบเครือข่ายในหน่วยงานใหญ่ๆ เป็นโปรแกรมจัดการระบบงาน
 (Operating system) ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่ง ได้รับการออกแบบโดยห้องปฏิบัติการเบลล์ของบริษัท AT&T ในปี ค.ศ. 1969 ถึงแม้ว่าระบบUnixจะคิดค้นมานานแล้วแต่ยังเป็นที่นิยมใช้กันมากมาจนถึงปัจจุบันโดยเฉพาะระบบพื้นฐานของ
อินเตอร์เนต เนื่องจากมีความคล่องตัวสูง ตลอดจนสามารถใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์หลายชนิด นอกจากนั้น 
Unix ยังเป็นระบบ ใช้ในลักษณะผู้ใช้ร่วมกันหลายคน (Multiuse) และงานหลายงานในขณะเดียวกัน (Multitasking) ผู้ใช้สามารถดัดแปลง หรือเพิ่มคำสั่งใน Unix ด้วยตนเองเพื่อความสะดวกได้ 
- Linux เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับระบบเครือข่าย ที่อยู่ในกลุ่มของ Free Ware ที่มี คุณภาพและประสิทธิภาพสูง Linux พัฒนาขึ้นโดยนายไลนัส ทอร์วัลด์ (Linus Torvalds) ขณะที่ยังเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเฮซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ เขาได้ส่งซอร์สโค้ด(Source Code)ให้นักพัฒนาทั่วโลกร่วมกันพัฒนา โดยข้อดีของ Linux สามารถทำงานได้พร้อมกัน(Multitasking) และใช้งานได้พร้อมกันหลายคน(Multiuse)ทำให้เป็นที่นิยมแพร่หลาย บางคนกล่าวว่า "Linuxก็คือน้องของUnix"แต่จริงๆแล้วLinuxมีข้อดีกว่ายูนิกซ์(Unix)คือสามารถทำงานได้
บนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
 (PC) ที่ใช้งานอยู่ทั่วๆ ไป เพราะว่า Linux เป็นระบบปฏิบัติ 
7
. รูปแบบในการเชื่อมต่อเครือข่าย (Topology) ซึ่งเป็นแผนผังทางกายภาพที่จะบอกว่าสัญญาณข้อมูลจะวิ่งจาก Node หนึ่งไปยังอีก Node หนึ่งในลักษณะอย่างไร ซึ่งมี รูปแบบ คือ Bus Topology0, Ring Topology และ Star Topology

8.
 อัตราการส่งข้อมูล (Data Transmission Rate) เป็นความเร็วที่แพกเกตจำนวนหนึ่งสามารถเดินทางจาก Node หนึ่ง ไปยังอีก Node หนึ่งในระบบเครือข่าย เช่น ความเร็ว 1 Mbps (Megabits per second) , 1Gbps (Gigabits per second)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น